เมนู

9. อกาลราวิชาดก


ว่าด้วยไก่ขันไม่เป็นเวลา


[119] "ไก่ตัวนี้มิได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้
อยู่ในสำนักอาจารย์ ย่อมไม่รู้จักกาลที่ควรขัน
และไม่ควรขัน"

จบ อกาลราวิชาดกที่ 9

อรรถกถาอกาลราวิชาดกที่ 9


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ท่องบ่นไม่เป็นเวลารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อมาตาปิตุสํวฑฺโฒ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้น เป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี
บรรพชาในพระศาสนาแล้ว ไม่เรียนวัตรหรือสิกขา เธอไม่รู้ว่า
เวลานี้ควรทำวัตร เวลานี้ควรปรนนิบัติ เวลานี้ควรเล่าเรียน
เวลานี้ควรท่องบ่น ส่งเสียงดังในขณะที่ตนตื่นขึ้นทีเดียว ทั้งใน
ปฐมยาม ทั้งในมัชฌิมยาม ทั้งในปัจฉิมยาม ภิกษุทั้งหลายไม่
เป็นอันได้หลับนอน ต่างพากันกล่าวโทษของเธอในธรรมสภาว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้น บรรพชาในพระศาสนาคือ รัตน เห็น
ปานนี้ ยังไม่รู้วัตรหรือสิกขา กาลหรือมิใช่กาล พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุม
สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรง
ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่ภิกษุนี้ ส่งเสียงไม่เป็นเวลา แม้ในกาลก่อน ก็ส่งเสียงไม่เป็น
เวลาเหมือนกัน และเพราะความที่ไม่รู้กาลหรือมิใช่กาล ถูก
บิดคอถึงสิ้นชีวิต แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์
เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาในศิลปวิทยาทุกอย่าง เป็นอาจารย์
ทิศาปาโมกข์ในพระนครพาราณสี บอกศิลปะแก่มาณพประมาณ
500. พวกมาณพเหล่านั้น มีไก่ขันยามอยู่ตัวหนึ่ง พวกเขา
พากันลุกตามเสียงขันของมัน ศึกษาศิลปะอยู่ มันได้ตายเสีย
พวกเขาจึงเที่ยวแสวงหาไก่อื่น ครั้งนั้นมาณพผู้หนึ่ง หักฟืนอยู่
ในป่าช้า เห็นไก่ตัวหนึ่ง ก็จับมาใส่กรงเลี้ยงไว้ ไก่ตัวนั้น มิได้
รู้ว่าควรขันในเวลาโน้น เพราะมันเติบโตในป่าช้า บางคราวก็ขัน
ดึกเกินไป บางคราวก็ขันเอาเวลาอรุณขึ้น พวกมาณพพากัน
ศึกษาศิลปะในเวลาที่มันขันดึกเกินไป ไม่อาจศึกษาได้จนอรุณ
ขึ้น พากันนอนหลับไป แม้ข้อที่ท่องจำได้แล้ว ก็เลือนลืม ในเวลา
ที่มันขันสว่างเกินไปเล่า ต่างก็ไม่ได้ท่องบ่นเลย มาณพกล่าวกัน
ว่า เดี๋ยวมันขันดึกไป เดี๋ยวก็ขันสายไป อาศัยไก่ตัวนี้ พวกเรา
คงเรียนศิลปะวิทยาไม่สำเร็จแล้ว ช่วยกันจับมันบิดคอถึงสิ้น

ชีวิต แล้วบอกอาจารย์ว่า ไก่ที่ขันไม่เป็นเวลา พวกผมฆ่ามันเสีย
แล้ว อาจารย์กล่าวว่า มันถึงความตาย เพราะมันเจริญเติบโต
โดยมิได้รับการสั่งสอนเลย ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า
"ไก่ตัวนี้ไม่ได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้
อยู่ในสำนักอาจารย์ ย่อมไม่รู้จักกาลที่ควรขัน
และไม่ควรขัน" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมาตาปิตุสํวฑฺโฒ ความว่า
ไก่ตัวนี้เติบโตโดยมิได้อาศัยมารดาบิดา แล้วรับโอวาทไว้.
บทว่า อนาจริยกุเล วสํ ความว่า แม้ในสกุลอาจารย์เล่า
ก็มิได้อยู่ เพราะมิได้อาศัยใคร ๆ เป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอนอยู่เลย.
บทว่า กาลมกาลํ วา ความว่า ไก่นี้ไม่รู้กาลหรือมิใช่กาล
อันควรที่ตนพึงขันอย่างนี้ว่า ควรขันในเวลานี้ ไม่ควรขันใน
เวลานี้ เพราะเหตุที่ไม่รู้นั่นเอง จึงต้องถึงความสิ้นชีวิต.
พระโพธิสัตว์แสดงเหตุนี้แล้ว ดำรงชีพอยู่จนตลอดอายุขัย
แล้วไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ไก่ที่ขันไม่เป็นเวลาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณี
อันเตวาสิก ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนอาจารย์ได้มาเป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอกาลราวิชาดกที่ 9


10. พันธนโมกขชาดก


ว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องจองจำ


[120] "คนพาลแย้มพรายออกมา ณ ที่ใด คน
ไม่น่าจะถูกจองจำย่อมถูกจองจำได้ หมู่บัณฑิต
แย้มพรายออกมา ณ ที่ใด ที่นั้น แม้คนที่ถูก
จองจำแล้ว ก็รอดพ้นได้"

จบ พันธนโมกขชาดกที่ 10

อรรถกถาพันธนโมกขชาดกที่ 10


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภนางจิญจมาณวิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อพทฺธา ตถฺถ พชฺฌนฺติ ดังนี้. เรื่องของนางจักแจ่มแจ้ง
ใน มหาปทุมชาดก ทวาทสนิบาต.
ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่
แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่นางจิญจมาณวิกา กล่าวตู่เราด้วยเรื่อง
ไม่จริง แม้ในกาลก่อน ก็เคยกล่าวตู่แล้วเหมือนกัน ทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในเรือนของท่านปุโรหิต